10 เรื่องน่าทึ่งของโลก ที่คุณอาจไม่เคยรู้



 

10 เรื่องน่าทึ่งเกี่ยวกับโลกของเรา




An image of Earth from space

ที่มาของภาพ,

22 เม.ย. ของทุกปีถูกกำหนดให้เป็น “วันคุ้มครองโลก” (Earth Day) โดยองค์การสหประชาชาติ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 1970 ที่ประชาชนราว 20 ล้านคนร่วมเดินขบวนตามท้องถนนของเมืองใหญ่ทั่วสหรัฐฯ เพื่อประท้วงการทำลายสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์


  1.โลกไม่ใช่ทรงกลมที่สมบูรณ์แบบ

แม้เราจะคุ้นตากับภาพของโลกที่เป็นดาวเคราะห์ทรงกลมสมบูรณ์แบบ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โลกมีลักษณะแบบราบที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ ดังนั้น “รูปทรงรี” จึงเป็นคำที่แม่นยำกว่าที่จะใช้บรรยายรูปทรงของโลก

เช่นเดียวกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ผลจากแรงโน้มถ่วง (gravitation) และแรงหนีศูนย์กลาง (centrifugal force) ซึ่งเกิดจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองทำให้ขั้วโลกมีลักษณะแบนราบ และเส้นศูนย์สูตรขยายกว้างออกไป ด้วยเหตุนี้ เส้นผ่านศูนย์กลางของโลกที่เส้นศูนย์สูตรจึงยาวกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางจากขั้วโลกเหนือไปยังขั้วโลกใต้ถึง 43 กม. 

2. กว่า 70% ของโลกปกคลุมด้วยน้ำ

Photograph of idyllic islands in Micronesia

ที่มาของภาพ

น้ำที่ปรากฏบนโลกอยู่ในรูปของทั้งของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ยิ่งไปกว่านั้น น้ำยังปกคลุมพื้นที่เกือบ 1 ใน 4 ของพื้นผิวโลกโดยอยู่ในรูปของธารน้ำแข็ง หนองน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ทะเล และมหาสมุทรราว 97% ของน้ำบนโลกเป็นน้ำเค็มในมหาสมุทร

3. อวกาศเริ่มต้นจากประมาณ 100 กม. เหนือโลก



 

ขอบเขตที่แบ่งระหว่างชั้นบรรยากาศโลกกับห้วงอวกาศเรียกว่า “เส้นคาร์เเมน” (Karman Line) ซึ่งอยู่ที่ระดับ 100 กม.เหนือระดับน้ำทะเล75% ของมวลบรรยากาศโลกอยู่ในระยะความสูง 11 กม.แรกเหนือผิวน้ำทะเล

4. โลกมีแกนกลางเป็นเหล็ก

An illustration of the structure of Earth

ที่มาของภาพ,

โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีมวลหนาแน่นที่สุด และมีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 5 ในระบบสุริยะ

เชื่อกันว่าส่วนชั้นในสุดของโลกมีลักษณะเป็นลูกบอลแข็งที่มีรัศมีประมาณ 1,200 กม.

แก่นโลกมีส่วนประกอบหลักเป็นเหล็ก โดยคาดว่ามีสัดส่วนราว 85% ของน้ำหนัก และธาตุนิกเกิล ซึ่งมีสัดส่วนราว 10%

5. โลกเป็นดาวเคราะห์เดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต




โลกเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวในจักรวาลที่เราสามารถยืนยันได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

ปัจจุบันมีสัตว์โลกที่ได้รับการจัดหมวดหมู่อยู่ราว 1.2 ล้านชนิดพันธุ์ แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่านี่เป็นสัดส่วนเพียงเล็กน้อยของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่อาศัยอยู่บนโลก

ในปี 2011 นักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าโลกน่าจะมีสัตว์ทั้งหมดราว 8.7 ล้านชนิดพันธุ์

โลกก่อกำเนิดขึ้นเมื่อราว 4,500 ล้านปีก่อน และสมบัติทางกายภาพของโลก ลักษณะทางธรณีวิทยา และการโคจรของโลกเอื้ออำนวยให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตมายาวนานหลายล้านปีแล้ว


6. แรงโน้มถ่วงไม่ได้เท่ากันทุกแห่งในโลก

A representation of the Earth's gravitational field.

ที่มาของภาพ,

การที่โลกของเราไม่ได้มีลักษณะเป็นทรงกลมสมบูรณ์แบบ อีกทั้งไม่ได้มีมวลกระจายเป็นเนื้อเดียวเท่ากันอย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้พลังของสนามโน้มถ่วงแตกต่างกันไปในแต่ละจุด

ยกตัวอย่างเช่น หากเราเคลื่อนที่จากเส้นศูนย์สูตรไปสู่ขั้วโลก ความเข้มข้นของสนามโน้มถ่วงจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้น ทว่าความแตกต่างนี้เป็นสิ่งที่มนุษย์สัมผัสรับรู้ไม่ได้

7. โลกเป็นดาวเคราะห์สุดขั้ว




โลกของเราเต็มไปด้วยความแตกต่างอย่างสุดขั้ว ความหลากหลายของพื้นที่ภูมิศาสตร์ และสภาพภูมิอากาศ ทำให้ในแต่ละภูมิภาคจะมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง

ยกตัวอย่างสถานที่อากาศร้อนที่สุดในโลกที่มีอยู่ด้วยกันหลายแห่ง แต่จุดที่มีอุณหภูมิสูงสุดที่มีการบันทึกไว้คือ “หุบเขามรณะ” (Death Valley) ซึ่งเป็นทะเลทรายอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ บริเวณเขตแดนระหว่างรัฐแคลิฟอร์เนียกับรัฐเนวาดา โดยเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 1913 วัดอุณหภูมิที่นี่ได้ 56.7 องศาเซลเซียส

ส่วนสถานที่สุดขั้วอีกแห่งคือ ทวีปแอนตาร์กติกา ในเขตขั้วโลกใต้ ซึ่งเคยมีการวัดอุณหภูมิที่สถานีวิจัยวอสตอก (Vostok station) เมื่อวันที่ 31 ก.พ. 1983 ได้ต่ำถึง -89.2 องศาเซลเซียส

8. โครงสร้างสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

Coral reef

ที่มาของภาพ,

แนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟ (Great Barrier Reef) บริเวณนอกชายฝั่งประเทศออสเตรเลียคือโครงสร้างที่ก่อตัวจากสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

ความยิ่งใหญ่ของแนวปะการังแห่งนี้สามารถมองเห็นได้จากห้วงอวกาศ โดยครอบคลุมพื้นที่กว่า 2,000 กม. และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำหลายพันชนิดพันธุ์

ในปี 1981 เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกจากองค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก


9. โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่ยังมีการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค



10. โลกมีเกราะป้องกัน


Illustration of the Earth's magnetic field

ที่มาของภาพ,

สนามแม่เหล็กโลกทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันอันตรายจากอนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์

สนามแม่เหล็กแผ่ขยายออกจากแก่นโลกไปยังขอบเขตที่บรรจบกับลมสุริยะ

คุณสมบัติหนึ่งของสนามแม่เหล็กโลก คือการช่วยสัตว์บางชนิดในการนำทาง และช่วยนำทางมนุษย์ได้เช่นกันเวลาที่เราใช้เข็มทิศ


ที่มา:https://www.bbc.com/thai/articles/cxwpynwgk79o








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สโมสรฟุตบอล No.1ของพรีเมียร์ลีก (ทริปเปิลแชมป์2022-2023)

10 เรื่องน่ารู้ของรถ Ferrari Purosangue